สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 17-23 เม.ย.60

10-16 เมษายน 2560

ราคายางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดกลางหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 69.76 บาท/กิโลกรัม

ยางพารา

1. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาภายในประเทศ

               ภาพรวมราคายางพาราที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาส่งออกเอฟ.โอ.บี ปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกันกับตลาดล่วงหน้าสิงค์โปร์และญี่ปุ่น เนื่องจากผู้ประกอบการแปรรูปยางขั้นต้นชะลอการซื้อยางก่อนถึงช่วงหยุดยาวในเทศกาลวันสงกรานต์ ขณะที่ปัจจัยบวกได้แก่ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทางด้านปัญหาในการแปรรูปยาง วันที่ 20 เมษายน 2560 ณ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี นายชยาวุธ จันทร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้มีคำสั่งให้โรงงานยางแท่งของ บริษัทศรีตรัง แองโกร อินดัสตี้ จก.(มหาชน) และ บริษัทวงษ์บัณฑิต อุดรธานี จำกัด ที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง หยุดเพื่อทำการปรับปรุงโรงงาน เนื่องจากสิ่งกลิ่นเหม็นมานานกว่า 5 ปี โดยโรงงานทั้งสองต้องหยุดการอบยางเพื่อปรับปรุงระบบบำบัดอากาศให้มีประสิทธิภาพเพียงพอป้องกันกลิ่นไม่ให้ไปรบกวนคนในโรงงานและภายนอก และหาวิธีป้องกันกลิ่นเหม็นจากกองยางให้แล้วเสร็จในวันที่ 15 พฤษภาคม 2560 หากยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจะถือว่าขัดคำสั่งเจ้าพนักงานโดยมีโทษปรับวันละ 5,000 บาท ทั้งนี้ระหว่างปรับปรุงก็จะทำการตรวจสอบโรงงานไปด้วย ส่วนผลการตรวจวัดค่าความเข้มกลิ่นจากการดมจากปล่องระหว่างวันที่ 2-3 เมษายน 2560 บ. ศรีตรัง 9,772.37 หน่วย บ.วงษ์บัณฑิต ปล่องแรก 31,9029.5 หน่วย ปล่องสอง 23,173.9 หน่วย จากค่ามาตรฐานเทียบเคียงเพียง 300 หน่วย ขณะบริเวณริมรั้วระหว่างวันที่ 2-5 เม.ย.60 บ.ศรีตรัง ระหว่าง 11.35-23.17 หน่วย และ บ.วงษ์บัณฑิต ระหว่าง 23.17-54.95 หน่วย จากค่ามาตรฐานเทียบเคียง 15 หน่วย 

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 67.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.32 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 
          2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.64 บาท เพิ่มขึ้นจาก 67.32 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.32 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48
          3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.14 บาท เพิ่มขึ้นจาก 66.82 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.32 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48
          4. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.06 บาท เพิ่มขึ้นจาก 31.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.46 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.46
          5. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.51 บาท เพิ่มขึ้นจาก 28.15 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.36 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.28
          6. น้ำยางสดคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.26 บาท เพิ่มขึ้นจาก 61.24 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.02 บาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.67 

          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2560
ณ ท่าเรือกรุงเทพ 
          1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.25 บาท ลดลงจาก 81.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.63 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.98
          2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.10 บาท ลดลงจาก 80.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.62 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.01
          3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.83 บาท ลดลงจาก 67.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.39
          4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.95 บาท ลดลงจาก 54.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.05 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.94 
          ท่าเรือสงขลา 
          1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจาก 81.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.63 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.99
          2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.85 บาท ลดลงจาก 80.47 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.62 บาท หรือลดลงร้อยละ 2.02
          3. ยางแท่ง (STR20) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.58 บาท ลดลงจาก 67.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 0.95 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.39
          4. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.70 บาท ลดลงจาก 53.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา กิโลกรัมละ 1.05 บาท หรือลดลงร้อยละ 1.95

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ และโตเกียวปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณสต๊อกยางในตลาดเซี่ยงไฮ้ของประเทศจีนมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดย ณ วันที่ 14 เมษายน 2560 มีสต๊อกยางจำนวน 377,888 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 337,611 ตัน เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2560 หรือเพิ่มขึ้นจำนวน 277 ตัน ทางด้านการส่งออกยางในต่างประเทศ จากข้อมูลที่รวบรวมโดยคณะกรรมการยางของอินเดีย การส่งออกยางธรรมชาติของอินเดียเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยในช่วงปีงบประมาณ 2559 - 2560 มีปริมาณ 20,030 ตัน ในขณะที่การส่งออกในช่วงปีงบประมาณ 2558 - 2559 มีปริมาณเพียง 865 ตัน ส่วนการส่งออกในช่วงปีงบประมาณ 2555 - 2556 มีปริมาณ 30,594 ตัน ทั้งนี้ ราคายางธรรมชาติที่ค่อนข้างต่ำในตลาดต่างประเทศ ทำให้การส่งออกมีแนวโน้มลดลงมาเรื่อยอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วงปีงบประมาณ 2559 - 2560 มีการส่งออกยางธรรมชาติหลายประเภท เช่น ยางแผ่นรมควัน (363 ตัน) ยางธรรมชาติมาตรฐานของอินเดีย หรือ ISNR (6,508 ตัน) น้ำยางข้น (13,023 ตัน) และอื่นๆ (136 ตัน) ไปยังประเทศต่าง ๆ ส่วนใหญ่ส่งออกไปเยอรมนี บราซิล สหรัฐฯ อิตาลี ตุรกี เบลเยี่ยม จีน อียิปต์ เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย ปากีสถาน สวีเดน เนปาล และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

          ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 222.95 เซนต์สหรัฐฯ (76.54 บาท) ลดลงจาก 232.75 เซนต์สหรัฐฯ (79.88 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 9.80 เซนต์สหรัฐฯ หรือลดลงร้อยละ 4.21

          ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 254.84 เยน (78.84 บาท) ลดลงจาก 271.44 เยน (83.29 บาท) ของสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ16.60 เยน หรือลดลงร้อยละ 6.12

สับปะรด

     ผลผลิต ลดลง

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนเมษายน 2560 ประมาณ 0.174 ล้านตัน หรือร้อยละ 8.53 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน ลดลงจากปริมาณ 0.179 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 2.74 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.131 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 32.22

     การส่งออก เพิ่มขึ้น

          ปี 2560 (มกราคม-กุมภาพันธ์) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.368 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.345 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.71

     ราคา สับปะรดโรงงาน ลดลง

     สับปะรดบริโภค เพิ่มขึ้น
          เนื่องจากในช่วงนี้ผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณวันละ 6,000 ตัน ขณะที่โรงงานแปรรูปสับปะรดบางส่วนยังปิดทำการผลิตต่อเนื่องหลังเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับคุณภาพสับปะรดไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป ทำให้ราคาสับปะรดปรับตัวลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้ 
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 6.17 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.29
และลดลงจากกิโลกรัมละ 9.24 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 33.22

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 10.97 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 10.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.92 และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.55 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 12.58

ข่าวรายสัปดาห์ 17-23 เม.ย. 60

 
ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 16.65 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.44 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
          สถานการณ์การผลิตถั่วเหลืองโลก (เมษายน 2560) 
          ราคาถั่วเหลืองในสหรัฐอเมริกาลดลงตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 เป็นผลมาจากการตอบสนองต่อการคาดการณ์ผลผลิตถั่วเหลืองในเดือนธันวาคม 2559 ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า ชิคาโก (Chicago Board of Trade : CBOT) ว่าผลผลิตถั่วเหลืองในอเมริการใต้จะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาถั่วเหลืองลดลงประมาณ 7.5 % ส่งผลให้ราคาลดลงต่ำกว่า 10 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชล มาโดยตลอด 
          ผลผลิตพืชน้ำมันโดยรวมในเดือนเมษายนมีปริมาณมากขึ้น ได้แก่ ถั่วเหลือง ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นในประเทศบราซิล อาร์เจนติน่า ปารากวัย และอุรุกวัย รวมทั้งเรฟซีดและทานตะวัน ก็มี ปริมาณสูงขึ้นจากการผลิตของอินเดีย รัสเซียและอัฟริกาใต้ การส่งออกโดยรวมของถั่วเหลืองเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะจากบราซิล ปารากวัย และอุรุกวัย ส่วนการนำเข้าก็สูงขึ้นเช่นเดียวกันจากอุปทานที่เพิ่มขึ้นมากในจีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และในเดือนนี้สต็อกถั่วเหลืองโดยรวมเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของบราซิล อาร์เจนติน่า และจีน 
          สหรัฐอเมริกา ราคาเมล็ดถั่วเหลืองตามฤดูกาลที่เกษตรกรขายได้ของสหรัฐอเมริกาในเดือนนี้ลดลง 0.05 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชล เป็น 9.60 เหรียญสหรัฐต่อบุชเชล 
          อาร์เจนติน่า นำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 200,000 ตัน เป็น 1.2 ล้านตัน เนื่องจากมีความต้องการใช้ในประเทศสูงขึ้น โดยนำเข้าจากปารากวัยเป็นส่วนใหญ่ แต่ลดปริมาณส่งออกกากถั่วเหลืองลง 400,000 ตัน เป็น 32 ล้านตัน สาเหตุจากสหภาพยุโรปลดการนำเข้า รวมทั้งลดการส่งออกน้ำมันถั่วเหลืองด้วยเช่นกันประมาณ 100,000 ตัน เหลืองเพียง 5.6 ล้านตัน 
          บราซิล ส่งออกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 900,000 ตัน เป็น 61.9 ล้านตัน ทั้งนี้เป็นผลจากผลผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น
          จีน นำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 1 ล้านตัน เป็น 88 ล้านตัน และส่งออกกากถั่วเหลืองลดลง 300,000 ตัน เป็น 1.6 ล้านตัน เนื่องจากมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงของประเทศผู้ผลิตถั่วเหลืองหลายประเทศ

          สหภาพยุโรป นำเข้าถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 800,000 ตัน เป็น 14.6 ล้านตัน และส่งออกกากถั่วเหลืองลดลง 750,000 ตัน เป็น 19.5 ล้านตัน
          ปากีสถาน นำเข้าถั่วเหลืองลดลง 400,000 ตัน เป็น 1.4 ล้านตัน จากการชะลอตัวในภาพรวมของอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลือง แต่นำเข้ากากถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น 200,000 ตัน เป็น 700,000 ตัน 
          ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 949.80 เซนต์ ( 12.04 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 947.40 เซนต์ (12.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.25
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 312.13 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10.77 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 313.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10.88 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.33
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.51 เซนต์ ( 23.97 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 31.17 เซนต์ (23.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.09

หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน

ข่าวสัปดาห์ 17 - 23 เม.ย. 60

 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

               ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

               ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.55 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.44
               ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.48 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 243.00 ดอลลาร์สหรัฐ (8,283 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 241.25 ดอลลาร์สหรัฐ (8,304 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.73 แต่ลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 21.00 บาท
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

               กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2559/60 ว่ามี 1,042.61 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 961.31 ล้านตันในปี 2558/59 ร้อยละ 8.46 โดยสหรัฐอเมริกา
จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ เวียดนาม แคนาดา อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 144.99 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 144.93 ล้านตัน ในปี 2558/59 ร้อยละ 0.04 โดย สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย เซอร์เบีย สหภาพยุโรป และแอฟริกาใต้ ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับ
ผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก เวียดนาม อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย เปรู โมร็อคโค และบราซิล มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย) 
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2560 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 361.80 เซนต์ (4,916 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 364.27 เซนต์ (4,984 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 68.00 บาท

ข่าวสัปดาห์ 17-23 เม.ย.2560

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้

          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 77.90 เซนต์
(กิโลกรัมละ 59.27 บาท) เพิ่มขี้นจากปอนด์ละ 75.16 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.59 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.68 บาท
17 - 23 เม.ย. 2560
สุกร
          สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
         
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศเริ่มร้อนมากขึ้นส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้า ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้นเพราะเพิ่งผ่านเทศกาลวันสงกรานต์และมีวันหยุดยาว แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 60.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.58 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ      กิโลกรัมละ 58.29 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 56.77 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 62.89 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 60.40 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท (บวกลบ 63 บาท) สูงขึ้นจากตัวละ 1,700 บาท (บวกลบ 59 บาท) ของสัปดาห์ที่ ผ่านมา ร้อยละ 5.88
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.17 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.36
 
ไก่เนื้อ
          สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
          ในสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 36.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.02 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 36.71 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 42.00 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

          สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

          ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนส่งผลให้ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคเริ่มมีมากขึ้นแนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 255 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 247 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.24 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 284 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 243 บาท ส่วนภาคเหนือและภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 241 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 8.30

ไข่เป็ด

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 332 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 341 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 340 บาท 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 370 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.64 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 98.33 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.70 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.57 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 95.17 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.46 บาท

 

กระบือ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.99 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.69 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.90 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.64 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.98 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 17 - 23 เม.ย. 2560

ไหม

          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,692 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,617 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.64
          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,421 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,392 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.08
          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,027 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,028 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10


ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี